financial plan

แผนการเงิน ( Financial Plan )

แผนการเงินที่ดี โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 
     1. สมมุติฐานทางการเงิน เป็นการกำหนดปัจจัยหลัก ๆของการดำเนินงานเพื่อประมาณการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปมีดังนี้
          1) ยอดขาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มาจากแผนการตลาดที่วางไว้
          2) ต้นทุนขาย ควรจะมาจากแผนการผลิตที่วางไว้
          3) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมาจากแผนบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการขายต่าง ๆ
          4) ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ประเมินจากอัตราดอกเบี้ย และวงเงินกู้เดิมกับวงเงินกู้ที่จะขอเพิ่ม มาใหม่
          5) สินทรัพย์และค่าเสื่อม มาจากประมาณการที่จะลงทุนในอนาคต เพื่อขยายกิจการ และวิธีการคิดค่าเสื่อม
          6) สินค้าคงคลัง ประมาณการระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
          7) ลูกหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาระหว่างการขายสินค้า และการเก็บเงินได้จากการขาย
          8) เจ้าหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาสั่งซื้อของ และจ่ายเงินให้เจ้าหนี้
     2. ประมาณการทางการเงิน
     เป็นการประมาณการงบการเงินและการวิเคราะห์อัตราส่วนตามสมมุติฐานที่วางไว้ ประกอบไปด้วย
     งบกำไรขาดทุน คือ งบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตลอดงวดระยะเวลาบัญชโดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือราย 6 เดือน งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย รายการหลัก 3 รายการ คือ
1) ยอดขายหรือรายได้
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน
3) ผลต่างของตัวเลขดังกล่าว ซึ่งก็คือ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
     งบดุล คือ งบที่แสดงถึงฐานะการเงิน ภาระผูกพันในการชำระหนี้ และจำนวนทุนของบริษัท ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ณ วันสิ้นงวดของรอบระยะเวลาบัญชี งบดุลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ 3 รายการ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน หรือส่วนของเจ้าของ
     งบกระแสเงินสด ( Cash Flow) คือ งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสด โดยจะแสดงถึงรายการได้มาและ ใช้ไปของเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดใน 3 กิจกรรมหลัก ๆ คือ

  • เงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน
  • จากการจัดหาเงินทุน
  • จากการลงทุน
     ดังนั้นความสามารถในการบริหารเงินสดของบริษัท และสภาพคล่องทางการเงิน จะดูได้จากงบกระแสเงินสด โดยงบกระแสเงินสดที่ดีควรเป็นเงินสดที่ไหลเข้ามาจากการลงทุนมากที่สุดรองลงมาจากการดำเนินงานและจากการจัดหาเงินทุนน้อยที่สุด งบกระแสเงินสดควรจะทำเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายปี และอาจจะทำล่วงหน้าไปหลายปี ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของกิจการเพื่อที่จะทำให้รู้ถึงสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของกิจการนั้น ๆ
     การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
     1. สภาพคล่อง

1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน=
สินทรัพย์หมุนเวียน
      (Current Ratio)
หนี้สินหมุนเวียน

1.2 อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว =
สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ
      (Quick Ratio)
หนี้สินหมุนเวียน
     2. ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์

2.1 อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้=
ขายเชื่อสุทธิ
      (Receivable Turnover)
ลูกหนี้เฉลี่ย

2.2 อัตราหมุนเวียนของสินค้า=
ต้นทุนสินค้าขาย
      (Inventory Turnover)
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย

2.3 ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้=
365 x ลูกหนี้
(Receivable Turnover Period)
ยอดขาย

2.4 ระยะเวลาสินค้าคงเหลือ=
365 x สินค้าคงเหลือ
      (Inventory Turnover Period)
ต้นทุนขาย
     3. ความสามารถในการบริหารงาน

3.1 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด =
กำไรสุทธิ x 100
      (Return On Assets : ROA )
สินทรัพย์ทั้งหมด

3.2 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น =
กำไรสุทธิ x 100
      (Return On Equity : ROE)
ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด

3.3 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน =
กำไรจากการดำเนินงาน x 100
      (Operating Income Margin)
ยอดขาย

3.4 อัตรากำไรขั้นต้น =
กำไรขั้นต้น x 100
      (Gross Profit Margin)
ยอดขาย
     4. ความสามารถในการชำระหนี้

4.1 อัตราส่วนแห่งหนี้ =
หนี้สินรวม
      (Debt Ratio)
สินทรัพย์รวม

4.2 อัตราส่วนแหล่งเงินทุน =
หนี้สินทั้งหมด
      (Debt to Equity Ratio)
ส่วนของผู้ถือหุ้น

4.3 อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย=
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี
      (Interest Coverage Ratio)
ดอกเบี้ยจ่าย
     
    3. การประเมิณสถาณการณ์จำลอง
     เมื่อจัดทำงบประมาณทางการเงินแล้ว ลำดับต่อไปจะทำการประเมินสถานการณ์จำลองเป็นการวิเคราะห์ความไวต่อสถานการณ์เมื่อเกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอนาคต จะขอยกตัวอย่างการประเมินสถานการณ์อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

กรณีที่ดี
เช่น
ยอดขายเพิ่ม20 %ค่าใช้จ่ายลด20 %
กรณีปกติ
เช่น
ยอดขายเพิ่ม10 %ค่าใช้จ่ายลด10 %
กรณีแย่
เช่น
ยอดขายลด20 %ค่าใช้จ่ายเพิ่ม20 %
     ซึ่งทำให้ทราบถึงผลกระทบของตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายอดขายลด 20% และค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20%
     4. การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน
     บอกถึงสภาพคล่องของโครงการ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่จะต้องใช้ไปในการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ลงทุนไปนั้นกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าจะบอกถึงสภาพคล่องที่ดีกว่า และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามเกณฑ์ระยะเวลาคืนทุนนี้ มีจุดอ่อนอยู่ที่การไม่คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลาหรือกระแสเงินที่เกิดขึ้นต่างเวลากัน เกณฑ์นี้นำมารวมกันที่หาระยะเวลาคืนทุนโดยทันที และการไม่นำกระแสเงินสดทุกจำนวนที่เกิดจากโครงการมาพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ จะพิจารณาเฉพาะกระแสเงินสดที่จำเป็นสำหรับการได้คืนทุนเท่านั้น รวมทั้งเกณฑ์นี้จะไม่เป็นธรรมสำหรับโครงการระยะยาวที่มีผลกำไรหลายปี ในอนาคตจะให้น้ำหนักความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการระยะสั้นเป็นหลัก 
     ระยะเวลาคืนทุน หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่โครงการจะให้กระแสเงินสดสุทธิรวมเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรกพอดี
     5. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
     การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจก่อน ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนส่วนใหญ่จะใช้กำไรส่วนเกินเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยพิจารณาจำนวนสินค้าที่ขายเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะมีรายได้เท่ากับค่าใช้จ่าย

จำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน=
ต้นทุนคงที่
ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
     หมายเหตุ
     ต้นทุนผันแปร หมายถึง ต้นทุนรวมที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขายได้
     ต้นทุนคงที่ หมายถึง ต้นทุนรวมที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตในระหว่างช่วงการผลิตหรือช่วงการขายช่วงหนึ่ง
     6. การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ( NPV)
     เป็นการประเมินโดยการนำความสำคัญของค่าของเงินตามเวลาเข้ามาคิดด้วย วิธีการนี้จะหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับที่เกิดจากโครงการในแต่ละงวดมารวมกัน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนโดยกำหนดอัตราส่วนลดหรือผลตอบแทนที่ต้องการ หากมีค่าเท่ากันหรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นศูนย์ แสดงว่าโครงการนั้นคุ้มทุนพอดี หากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้ารวมกัน มีมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน ถือว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เราต้องการหรือคาดหวังไว้ ควรจะลงทุนในโครงการนั้นหากไม่แล้ว ก็ควรปฏิเสธไม่ลงทุนในโครงการนั้น
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ – มูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย
     7. การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน ( Internal Rate of Return - IRR)
     เป็นอัตราส่วนลด/หรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายออกไปเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะได้รับเข้ามาตลอดอายุของโครงการ หรือคือการหาส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ NPV (Net Present Value) เท่ากับ 0
     อัตราผลตอบแทนที่ได้จากโครงการ : เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ = 0

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น